วันจันทร์, พฤศจิกายน ๒๖, ๒๕๕๐

รักแห่ง เหรียญ

เพลงประกอบ class ชั่ง n เหรียญ
โหลด bytecode เอาไปลองเล่นได้ข้างล่าง

ส่วนเพลงนี้ เนื้อร้องด้านล่างเหมือนกัน



ถ้าบอกว่า code นี้ เขียนให้เธอ เธอจะเชื่อไหม
มันอาจไม่เร็ว ไม่ไว ไม่ O(n) เหมือน code ทั่วไป
อยากให้รู้ ว่า ชั่งเหรียญ ถ้าไม่เรียนก็เขียน.. ไม่ได้
แต่กับเธอคนดี รู้ไม๊ ฉันเขียนยังงัย.. ได้

เธอคงเคย ได้เห็น วิธีชั่ง มานับร้อยพัน
มันอาจจะโดนใจ แต่ก็ใช้ idea เหมือนๆกัน
แต่ถ้่าเธอ ดู code นี้ code ที่เขียน ชั่ง เธอเท่านั้น
เพื่อจะเข้าใจความหมายแล้วใจ จะได้มีมัน.. ในนั้น

*ให้เป็น idea บนทางเดินเคีย(ง) ที่จะมีเพีย(ง) code เธอกับฉัน
run ด้วยกันตราบเนิ่นนาน

ดั่งในใจความ บอกใน class นี้
ว่าตราบใดที่มี code ย่อมมีหวัง (get A)
คือทุกครั้งที่ code ของเธอให้้ idea ฉันมีปลายทาง

หื๊อ หือ

มีความจริง อยู่ใน source code ตั้งมากมาย
และที่ผ่านมา ฉันใช้เวลา เพื่อหาความหมาย หืม หืม (ฮา)
แต่ไม่นาน ก็พึ่งรู้ เมื่อทุกครั้ง ที่ เหรียญ ชั่งได้
ว่าถ้า idea คือทำนอง code ก็เป็น ดังคำร้อง ที่เพราะลึกซึ้งจับใจ

*โห เย่ หู ฮืม

มีทางเดินให้เราเดินเคียง
และมี เหรียญ ของเธอกับฉัน
มีทางเดินให้เราเดินร่วมเคียง
และมี code ของเธอกับฉัน


วันศุกร์, พฤศจิกายน ๒๓, ๒๕๕๐

๋Java Programming เขียนกันดึกดื่นจนต้องหากาแฟชวามาดื่ม

ที่จะอธิบายต่อไปนี้เป็นวิธีทำให้เครื่องเราเขียนโปรแกรม ภาษา Java ไ้ด้ อย่างน้อยขั้นตอนที่สุด และได้ผลชัวร์ที่สุด บนเครื่อง Windows

ที่บอกว่าเขียนโปรแกรมฯได้นั้น หมายไปถึง (แต่ไม่จำกัดเพียง)
  1. เปิดซอร์สโค๊ด มาแก้ได้, จะสอนใช้ Notepad กะ Edit
  2. คอมไฟล์ได้, ทำยังงัยให้คำสั่ง javac ใช้งานได้
  3. สั่งให้โปรแกรมที่คอมไพล์ไปทำงา่น, คำสั่ง java
แต่วิธีการบรรยายจะเปนตามขั้นตอนตามเวลาตั้งแต่เครื่องยังไม่มีไรเลย จนทำทั้งสามอย่างได้

หา JDK มา Install

  • Download Java Developmet Kit(JDK) JDK แบ่งเ้ป็นสามา่ยใหญ่ๆ คือ
  • Java EE(Java Enterprise Edition) เอาไว้เขียนบงานใหญ่ๆ เช่นใน Server
  • Java ME( ... Micro ...) งานเล็กๆ เช่นในมือถือ
  • Java SE( ... Standard ...) งานทั่วๆไป
จะใช้แบบไหน (SE,ME หรือ EE) ก็ต้องเลือก JDK ให้ถูก งวดนี้ โหลด JDK 6 Update 3 เพราะ เป็นตััวอัพเดตล่าสุดของ Java SE ในขณะนี้ ที่นี่ เลือก

Windows Offline Installation, Multi-language jdk-6u3-windows-i586-p.exe

เลือก Accept
กด Download

  • Install JDK ที่พึ่งได้มา, ดับเบิ้ลคลิ๊กแล้ว follow on- screen instruction เลย
  • พอลงเสร็จ เครื่องมือที่จำเป็นในการคอมไพล์แล้วรัน โปรแกรมภาษาจาวา ก็จะอยู่ในเครื่องของเรา ... แต่มันอยู่ตรงไหนล่ะ
    โดยปกติ โปรแำกรมจาวาจะอยู่ที่ C:\Program Files\Java\jdk**** (**** คือตัวเลข บอกรุ่นของ jdk)ถ้าหาโฟล์เดอร์นี้ไม่เจอ ลองใช้ Windows Searchโฟล์เดอร์ที่ขึ้นต้นด้วย jdk (กดปุ่ม Windows + F แล้วเลือก all files and folders | พิมพ์ jdk)
วิธีการใช้งานก็ง่ายมาก เข้าไปในดอส โดย Run พิมพ์
cmd
(ย่อมาจาก command) กด Enter

เข้าไปที่โฟล์เดอร์ของโปรแกรม พิมพ์
cd C:\Program Files\Java\jdk****\bin


สร้าง Source Code

พิมพ์
edit
จะเจอหน้าจอ โบราณๆ แต่เวิร์ก

พิมพ์ โค๊ด ลงไป
class Hello {
public static void main(String [] argv) {
System.out.println("Hello");
}
}
กด Alternate กดลูกศรลงมา
เลือก save
กำหนดชื่อเป็น Hello.java (ตั้งชื่อตามชื่อ class)

กด Alternate กดลูกศรลงมา
เลือก Exit จะกลับมาที่หน้า Dos

ดูว่ามีไฟล์ Hello.java อยู่ตามที่ทำไว้

พิมพ์
dir *.java
(แปลว่า ขอดูรายชื่อไฟล์ ที่ลงท้ายด้วย .java หน่อย)

เห็นว่ามีแล้ว ก็ทำต่อไป ไม่มี ก็โพสไว้ข้างล่างได้

คอมไพล์

พิมพ์
javac Hello.java
คอมไพล์เลอร์จะบอกว่า คอมไพล์เสร็จ

รันโปรแกรม

พิมพ์
Java Hello

ลองดูเอาต์พุต
ที่ถูกต้อง โปรแกรมจะแสดง Hello ออกมา

การเขียนโปรแกรมเป็นเสร็จสิ้น

ถ้าเราจะมาแก้โปรแกรม ก็สามารถทำได้
พิมพ์
edit Hello.java
แล้วก็ save, exit, compile แล้ว run

Set Path

ทีนี้ ถ้าเกิดโปรแกรม ไม่อยู่ใน
C:\Program Files\Java\jdk***\bin จะคอมไพล์ไม่ได้ เพราะ
ในตอนที่เราพิมพ์ javac, DOS ก็จะหาไฟล์ java.exe ในโฟล์เดอร์ที่เราอยู่ ซึ่งมันไม่เจอ (เพราะ Installer ก๊อบ ไฟล์ javac ไว้ให้เราที่
C:\Program Files\Java\jdk***\bin นั่นเอง

แต่มีทางแก้!!!

โปรดติดตามตอนต่อไป

วันจันทร์, พฤศจิกายน ๐๕, ๒๕๕๐

IBM System z Mainframe Computer


IBM - International Business Machine- บ.คอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่ สร้างประเภทของคอมพิวเตอร์ ที่ทีพลังประมวลผลมหาศาล ที่เรียกว่า Mianframe Computer จะเป็นรองก็แต่ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ เท่านั้น

Lineup ล่าสุดของ Mainframe Computer ของ IBM ถูกตั้งชื่อ ว่า IBM System z9 คับ (แต่ก่อนนั้นเค้าตั้งชื่อว่า IBM eServer zSeries)
โดยการพัฒนาครั้งนี้ แบ่งเป็นสองรุ่นใหญ่ๆ คือ
  1. IBM System z9 Enterprise Class
  2. IBM System z9 Business Class
Ref: http://www.answers.com/topic/ibm-system-z9

หลังๆนี้ IBM มีความหวังที่จะ ทำให้เครื่อง Mainframe ของเขา ใช้งานง่าย เหมือน Microcomputer ตามบ้าน หรือก็คือให้มีคนรู้จักสินค้าเค้าเยอะๆมันเม๊กเซนส์ทางการตลาดแน่นอน เพราะคนใช้งานเป็นมากกว่า ก็ขายงาน เพราะจ้างคนมาโอเปอเรนตถูก เพราะ คนโอเปอร์เป็น มีเยอะ, Demand-Supply, ในมุมอรีกมุมของ Academic ซึ่งผมว่า ทำได้ขนาดนั้น จะเป็นการดีมากๆ เพราะอะไรรู้ไม๊

เพราะว่าพูดถึง Computer เราจะนึกถึง Microcomputer ซึ่งไม่ใช้ All Posibilities ของ Computer ถ้าใครซักคนได้เห็นอีกด้านของ Implementation ของ Computer ผมว่าจะเข้าใจเรื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นนะ

Mainframe ออกแบบมาโดยคำนึงถึง สเถียรภาพเป็นหลัก เพราะมันต้องรองรับงานใหญ่ๆ อย่างงานธนาคาร ที่ทุกวินาทีเป็นเงินเป็นทอง และการที่คอมพิวเตอร์ที่รับผิดชอบงานตรงนั้น Down ถึว่าเสียโอกาสทางธุรกิจ

Mainframe ออกแบบมาให้ขนาดว่าให้จัดการอุปกรณ์ู่ ระหว่างเครื่องรันอยู่ได้ (Hot Swap) โดยที่เครื่องไม่ต้องหยุดทำงานของมัน เป็นคนก็ประมาณว่า ผ่าตัดเปลี่ยนขา เปลี่ยนแขนโดยที่ ทำงานไปด้วยได้ปกติ

เพราะฉะนั้น แบบของคอมพิวเตอร์ หรือ Architecture x86 ที่ใช้กันอยู่เนี่ย ไม่ได้แล้ว และ Architecture ที่ System z และบรรพบุรุษของมันใช้ ก็คือ อะไรให้ทาย...

z/Architecture นั่นเอง for more information -> http://en.wikipedia.org/wiki/Z/Architecture

ความแตกต่าง ระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่กับไอ่ System z Mainframe อย่างนึง จะยกตัวอย่าง อันนี้เป็นทาง Resource Management ของมันออกไปทาง Software นะ

เวลาสร้างไฟล์ใน Linux หรือ Windows ก็ระบุชื่อไฟล์ เท่านั้น OS ซึ่งก็คือ Windows หรือ Linux ก็จะสร้างจุดเริ่มต้นของไฟล์มา ใน HDD แล้วพอเขียนไฟล์ ก็เขียนในจุดที่ว่างถัดไปทางขวา

แต่ใน z/OS ไม่ใช่ จะสร้าง ไฟล์ (ในที่นี้ เค้าเรียน Member, โฟลเดอร์ เค้าเรียก Partition Data Set-PDS) ต้องบอกว่า ไอ่ Member นี้ จะมีขนาดไม่เกินเท่าไหร่ เพราะ IBM คุยว่า หน่วยความจำหรือ อะไรของเค้า ทำงานเร็วมาก ถ้าโปรแกรมทำพาดไปไม่กี่แป๊ป อาจจะ เสียที่ไป เป็นเทอราไบต์แล้วก็ได้ ... เป็นต้น

ต่อมา IBM มีโครงการ Academic Initiatives ที่ว่ามานั่นแหละ ไทยเราก็มีศูนย์ที่สถาบัน SIT ที่ KMUTT -> http://www-304.ibm.com/jct09002c/university/scholars/products/zseries/universitiesAP.html
แล้วก็ให้นักศึกษาในประเทศไทยได้มีประสบการณ์ใช้ Mainframe ของเค้า

โดยที่เค้าแข่งเป็นสามรอบ ต้องผ่านรอบแรก ถึงจะไปรอบสอง ต้องผ่านรอบสอง ถึงจะไปรอบถาม คนชนะได้ไปดูแลบ IBM คนเก่งรองลงมาได้ของที่อยู่ในรูปกลับไป

ในป้ายโฆษณาเค้าก็เขียนอยู่ว่า ไม่มีประสบการณ์ ก็ร่วมสนุกกับ เค้าได้นะ....

สนใจ -> http://www.ibm.com/th/mainframechallenge

บรรยายมาตั้งยืดยาว ตั้งแต่ Lineup ของ IBM Mainframe, โครงการ Initiatives ที่ทำให้เครื่องใช้ง่ายขึ้น และคนรู้จักมากขึ้น กับเกร็ดเล็กน้อยในเครื่อง Mainframe และ โครงการที่เราจะมีส่วนร่วมได้ในวันนี้ !!