วันจันทร์, พฤศจิกายน ๐๕, ๒๕๕๐

IBM System z Mainframe Computer


IBM - International Business Machine- บ.คอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่ สร้างประเภทของคอมพิวเตอร์ ที่ทีพลังประมวลผลมหาศาล ที่เรียกว่า Mianframe Computer จะเป็นรองก็แต่ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ เท่านั้น

Lineup ล่าสุดของ Mainframe Computer ของ IBM ถูกตั้งชื่อ ว่า IBM System z9 คับ (แต่ก่อนนั้นเค้าตั้งชื่อว่า IBM eServer zSeries)
โดยการพัฒนาครั้งนี้ แบ่งเป็นสองรุ่นใหญ่ๆ คือ
  1. IBM System z9 Enterprise Class
  2. IBM System z9 Business Class
Ref: http://www.answers.com/topic/ibm-system-z9

หลังๆนี้ IBM มีความหวังที่จะ ทำให้เครื่อง Mainframe ของเขา ใช้งานง่าย เหมือน Microcomputer ตามบ้าน หรือก็คือให้มีคนรู้จักสินค้าเค้าเยอะๆมันเม๊กเซนส์ทางการตลาดแน่นอน เพราะคนใช้งานเป็นมากกว่า ก็ขายงาน เพราะจ้างคนมาโอเปอเรนตถูก เพราะ คนโอเปอร์เป็น มีเยอะ, Demand-Supply, ในมุมอรีกมุมของ Academic ซึ่งผมว่า ทำได้ขนาดนั้น จะเป็นการดีมากๆ เพราะอะไรรู้ไม๊

เพราะว่าพูดถึง Computer เราจะนึกถึง Microcomputer ซึ่งไม่ใช้ All Posibilities ของ Computer ถ้าใครซักคนได้เห็นอีกด้านของ Implementation ของ Computer ผมว่าจะเข้าใจเรื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นนะ

Mainframe ออกแบบมาโดยคำนึงถึง สเถียรภาพเป็นหลัก เพราะมันต้องรองรับงานใหญ่ๆ อย่างงานธนาคาร ที่ทุกวินาทีเป็นเงินเป็นทอง และการที่คอมพิวเตอร์ที่รับผิดชอบงานตรงนั้น Down ถึว่าเสียโอกาสทางธุรกิจ

Mainframe ออกแบบมาให้ขนาดว่าให้จัดการอุปกรณ์ู่ ระหว่างเครื่องรันอยู่ได้ (Hot Swap) โดยที่เครื่องไม่ต้องหยุดทำงานของมัน เป็นคนก็ประมาณว่า ผ่าตัดเปลี่ยนขา เปลี่ยนแขนโดยที่ ทำงานไปด้วยได้ปกติ

เพราะฉะนั้น แบบของคอมพิวเตอร์ หรือ Architecture x86 ที่ใช้กันอยู่เนี่ย ไม่ได้แล้ว และ Architecture ที่ System z และบรรพบุรุษของมันใช้ ก็คือ อะไรให้ทาย...

z/Architecture นั่นเอง for more information -> http://en.wikipedia.org/wiki/Z/Architecture

ความแตกต่าง ระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่กับไอ่ System z Mainframe อย่างนึง จะยกตัวอย่าง อันนี้เป็นทาง Resource Management ของมันออกไปทาง Software นะ

เวลาสร้างไฟล์ใน Linux หรือ Windows ก็ระบุชื่อไฟล์ เท่านั้น OS ซึ่งก็คือ Windows หรือ Linux ก็จะสร้างจุดเริ่มต้นของไฟล์มา ใน HDD แล้วพอเขียนไฟล์ ก็เขียนในจุดที่ว่างถัดไปทางขวา

แต่ใน z/OS ไม่ใช่ จะสร้าง ไฟล์ (ในที่นี้ เค้าเรียน Member, โฟลเดอร์ เค้าเรียก Partition Data Set-PDS) ต้องบอกว่า ไอ่ Member นี้ จะมีขนาดไม่เกินเท่าไหร่ เพราะ IBM คุยว่า หน่วยความจำหรือ อะไรของเค้า ทำงานเร็วมาก ถ้าโปรแกรมทำพาดไปไม่กี่แป๊ป อาจจะ เสียที่ไป เป็นเทอราไบต์แล้วก็ได้ ... เป็นต้น

ต่อมา IBM มีโครงการ Academic Initiatives ที่ว่ามานั่นแหละ ไทยเราก็มีศูนย์ที่สถาบัน SIT ที่ KMUTT -> http://www-304.ibm.com/jct09002c/university/scholars/products/zseries/universitiesAP.html
แล้วก็ให้นักศึกษาในประเทศไทยได้มีประสบการณ์ใช้ Mainframe ของเค้า

โดยที่เค้าแข่งเป็นสามรอบ ต้องผ่านรอบแรก ถึงจะไปรอบสอง ต้องผ่านรอบสอง ถึงจะไปรอบถาม คนชนะได้ไปดูแลบ IBM คนเก่งรองลงมาได้ของที่อยู่ในรูปกลับไป

ในป้ายโฆษณาเค้าก็เขียนอยู่ว่า ไม่มีประสบการณ์ ก็ร่วมสนุกกับ เค้าได้นะ....

สนใจ -> http://www.ibm.com/th/mainframechallenge

บรรยายมาตั้งยืดยาว ตั้งแต่ Lineup ของ IBM Mainframe, โครงการ Initiatives ที่ทำให้เครื่องใช้ง่ายขึ้น และคนรู้จักมากขึ้น กับเกร็ดเล็กน้อยในเครื่อง Mainframe และ โครงการที่เราจะมีส่วนร่วมได้ในวันนี้ !!

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

กลัวตกรอบตั้งแต่รอบแรกเลย